ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
ผู้ศึกษาค้นคว้า พิชชาพร พงษา
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองหิน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๓
ปีที่ศึกษา ๒๕๖๐
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงรูปแบบเรียนรู้ของผู้เรียน ๔ แบบกับการพัฒนาสมองซีกซ้าย
และซีกขวาอย่างสมดุล จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้โดยผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ
ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้โดยผู้เรียนสามารถการเรียนรู้ด้วยตนเองและจากการมีส่วนร่วม
ในการทำกิจกรรมทำให้เกิดการตอบสนองต่อการเรียนรู้ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านหนองหิน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำใน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนบ้านหนองหิน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๓ จำนวน ๙ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ ๑) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค จำนวน ๘ ชุด ๒) แผนการจัด
การเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค จำนวน ๑๐ แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๑๖ ชั่วโมง ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B)
ตั้งแต่ ๐.๓๐ ถึง ๐.๖๓ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๕ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้
แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ
ในประโยค เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ จำนวน ๒๐ ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ ๐.๓๕ ถึง ๐.๗๘ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๘๗๔ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t test)
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
๑. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค มีประสิทธิภาพ E๑/E๒ เท่ากับ 85.97/84.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักร
การเรียนรู้แบบ ๔ MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านหนองหิน มีความพึงพอใจ
ต่อการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๖๘ , S.D. = ๐.๔๙)
โดยสรุปการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๔ MAT
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมและควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
ให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการเรียนรู้ระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป