ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดประเจียก จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2559 2560
ลักษณะผลงาน : รายงานการพัฒนางานที่เกี่ยวกับผลจากการบริหารสถานศึกษา
ผู้รายงาน : นายอุดม แก้วสะโร
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดประเจียก
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดประเจียก จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2559 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการและประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ 3) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน 4) ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 (มาตรฐานที่ 1) และปีการศึกษา 2560 (มาตรฐานที่ 2) และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2559 นักเรียน จำนวน 77 คน ครู จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง นักเรียน จำนวน 77 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และปีการศึกษา 2560 นักเรียน จำนวน 61 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 61 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง ได้แก่ แบบบันทึกผลการประเมินพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริงและแบบบันทึกผลการประเมินมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2 ฉบับ และ 2) แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for window สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .86 - .89 ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานและครู ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2560 พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2560 พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2560 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ปรากฏผลดังนี้
4.1 คุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2560 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2558 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดประเจียก โดยภาพรวมพบว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนลดลงทุกรายการ ปีการศึกษา 2559 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนลดลง ร้อยละ 35.21 พฤติกรรมที่ลดลงค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทะเลาะวิวาท
สูบบุหรี่ และไม่ร่วมกิจกรรม ตามลำดับ และปีการศึกษา 2560 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนลดลงร้อยละ 71.74 พฤติกรรมที่ลดลงค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ไม่ร่วมกิจกรรม หนีเรียน และสูบบุหรี่ ตามลำดับ ทุกรายการผ่านเกณฑ์ประเมินที่กำหนด
4.4 ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2559 ตามมาตรฐานที่ 1 และปีการศึกษา 2560 ตามมาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ปีการศึกษา 2559 พบว่า คุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 88.67 และปีการศึกษา 2560 พบว่า คุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 95 ผลสำเร็จผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ทุกตัวบ่งชี้
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ ตามความคิดเห็นนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2560 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1. การจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย โรงเรียนควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร ที่สะท้อนวิถีชีวิตประชาธิปไตยในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนควรส่งเสริมให้เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการบันทึกความดีในชีวิตประจำวัน เพื่อเสริมสร้าง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์จนเป็นนิสัย
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการ/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม
2. ควรวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ควรวิจัยเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของนักเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด