ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach)
เรื่องความมหัศจรรย์ของต้นไผ่
ผู้รายงาน นางสาวอัจฉราวรรณ กองศิลป์
ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ โรงเรียนบ้านเหล่าป่าสา อาเภอเมือง
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) เรื่องความมหัศจรรย์ของต้นไผ่
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 แยกเป็นรายด้านได้แก่ ทักษะ
การสังเกต ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และทักษะการให้เหตุผล ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) เรื่องความมหัศจรรย์ของต้นไผ่
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนบ้านเหล่าป่าสา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 จำนวน
11 คน ได้มาโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้รายงานรับผิดชอบเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของ
เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach)
เรื่อง ความมหัศจรรย์ของต้นไผ่ จานวน 50 กิจกรรม 2) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์สาหรับ
เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ เรื่องความมหัศจรรย์ของต้นไผ่ ลักษณะแบบประเมินเป็นแบบเลือกตอบและการให้เหตุผลประกอบ คาถามเป็นประโยคคาสั่ง ตัวเลือกรูปภาพเหมือนจริง
มีทั้งหมด 4 ชุด คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และทักษะ
การให้เหตุผลชุดละ 3 ข้อ รวม 12 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวม 12 คะแนน
สรุปผลการศึกษา
เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็ก ชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) เรื่อง ความมหัศจรรย์ของต้นไผ่ จำนวน 10 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน รวมจัดประสบการณ์ทั้งสิ้น 50 วัน พบว่าหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งเมื่อแยกเปรียบเทียบรายด้าน ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะ การเปรียบเทียบ ทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และทักษะการให้เหตุผล พบว่า หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05