ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้รายงาน นายพรจิระ ทองกอง
ชื่อสถาบันที่สังกัด โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2560 ก่อนและหลังการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 48 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 แผน คู่มือการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลจากการศึกษาค้นคว้าปรากฏผล ดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.02/83.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายชุด ปรากฏว่าแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ทั้ง 12 ชุด มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง ประพจน์ (83.68/81.04) ชุดที่ 2 เรื่อง การเชื่อมประพจน์ (83.79/81.46) ชุดที่ 3 เรื่อง การหาค่าความจริงของประพจน์ (83.85/81.88) ชุดที่ 4 เรื่อง การสร้างตารางค่าความจริง (84.06/82.71) ชุดที่ 5 เรื่อง รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน (84.58/82.92) ชุดที่ 6 เรื่อง สัจนิรันดร์ (85.05/83.75) ชุดที่ 7 เรื่อง การอ้างเหตุผล (85.73/83.96) ชุดที่ 8 เรื่อง ประโยคเปิด (85.83/84.38) ชุดที่ 9 เรื่อง ตัวบ่งปริมาณ (85.68/84.58) ชุดที่ 10 เรื่อง ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณตัวเดียว (85.73/84.79) ชุดที่ 11 เรื่อง สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ (85.83/85.00) และชุดที่ 12 เรื่อง ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณสองตัว (86.41/85.83)
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.8034 ซึ่งแสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหรือมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.34
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x - bar = 4.85)