บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยและพัฒนาแผนการจัด
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหอย (เติมเอนยิเนียริ่งอุปถัมภ์)อำเภอประจันตคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมโครงงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมโครงงานแต่ละแผน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมโครงงาน แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Sample)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดย มีค่า E1 / E2 = 84.35/82.88
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน
ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมโครงงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านประโยชน์ที่ได้รับ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมา คือด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านเนื้อหาสาระ เมื่อแยกเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนเห็นความสำคัญของการนำกิจกรรมโครงงานมาทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน