ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวฒุลิกา แสงสุวรรณ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดจันทน์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะ
การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดจันทน์
อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ และ แบบประเมินความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ (E1/E2)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ84.03/84.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 17.44 และ
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .55 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ โดยภาพรวมความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก