บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กโดยการจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์ แสนสนุก ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
โรงเรียน บ้านในสอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
ชื่อผู้ศึกษา : นางนันทการ์ อุตะภา
ปีการศึกษา : 2559
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้าม เนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แสนสนุก ทั้งรายพฤติกรรม และภาพรวม และเพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แสนสนุก ทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในสอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แสนสนุก จำนวน 30 กิจกรรม แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แสนสนุก จำนวน 30 แผน และแบบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือและนิ้วมือ ชุดที่ 2 วัดความสามารถยืดหยุ่นในการใช้มือและนิ้วมือ ชุดที่ 3 วัดความสามารถในการควบคุมการใช้มือและนิ้วมือ และชุดที่ 4 วัดความสามารถในการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ นิ้ว กับตา ในการทดลองครั้งนี้มีการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง การดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แสนสนุก เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ แบบ Time Series Pretest- -Posttest Design) รวมผลการประเมินเป็น 10 ช่วงสัปดาห์ และผลทดสอบ 2 ครั้ง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย(μ)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(σ)และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้มือและนิ้วมือ ความยืดหยุ่นในการใช้มือและนิ้วมือ การควบคุมการใช้มือและนิ้วมือ และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แสนสนุก พบว่ามีการพัฒนาดีขึ้นตลอดระยะเวลาเมื่อมีการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยทุกพฤติกรรม เริ่มต้นสัปดาห์แรก มีการดำเนินการตามแผนจัดกิจกรรม ผลการประเมินทุกพฤติกรรมและภาพรวมอยู่ในระดับปรับปรุง (1.39, 1.41, 1.44, 1.30 และ 1.38 ตามลำดับ) ในระหว่างการจัดกิจกรรมมีพฤติกรรมส่วนใหญ่มีการพัฒนาดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ มีบางพฤติกรรมเป็นส่วนน้อย มีผลประเมินพฤติกรรมพัฒนาการคงที่และลดลงในช่วงสัปดาห์สุดท้ายสัปดาห์ที่ 10 ผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดี (3.00, 2.83, 2.91, 2.83 และ 2.89 ตามลำดับ)
2. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้มือและนิ้วมือ ความยืดหยุ่นในการใช้มือและนิ้วมือ การควบคุมการใช้มือและนิ้วมือ และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ตลอดภาพรวมพฤติกรรม ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แสนสนุก โดยก่อนการจัดกิจกรรมมีผลการวัดและประเมิน จากคะแนนเต็มพฤติกรรมละ 3 คะแนน เด็กทดสอบโดยการปฏิบัติจริง 0.00, 0.00, 1.06, 0.00 และ 0.26 ตามลำดับ หลังการจัดกิจกรรมมีผลการวัดและประเมิน 2.89, 3.00, 2.03, 3.00 และ 2.93 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเด็กมีคะแนนแตกต่างกันในทางที่ดีขึ้น ดังนี้ 2.89, 3.00, 1.78, 3.00 และ 2.67 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 96.30, 100, 59.26, 100 และ 88.89 ตามลำดับ