ผู้วิจัย นางพชรวรรณ ชาวหันคำ
สถานศึกษา โรงเรียนซำสูงพิทยาคม อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในประเด็น (1) เปรียบเทียบ ทักษะการอ่านระหว่างการใช้รูปแบบและหลังการใช้รูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) ประเมินทักษะทางสังคมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ต่อการใช้รูปแบบ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 35 คน โรงเรียนซำสูงพิทยาคม อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามรูปแบบ PATCHA Model 3) แบบประเมินทักษะสังคมของนักเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัย พบว่า
1) ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ภายใต้รูปแบบ PATCHA Model (E1/E2) เท่ากับ 80.19/81.05 ผลลัพธ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และผลการประเมินคุณภาพรูปแบบมีความเหมาะสมดีมาก
2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างเรียนและหลังการใช้รูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามรูปแบบ PATCHA Model แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังใช้รูปแบบ (X-bar = 48.63, S.D. = 5.2 )สูงกว่าคะแนนระหว่างการใช้รูปแบบ ( X-bar = 48.11, S.D. = 5.38)
3) ทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการใช้รูปแบบ (X-bar = 4.37, S.D. = 0.55)อยู่ในระดับมาก
4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเน้นภาระงาน ( X-bar = 4.14, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก