ชื่อเรื่อง : การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นายเดช ยะมงคล
ประเภทผลงานวิชาการ : ผลงานวิจัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักการผลติข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา หลังการเรียนโดยเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนดร้อยละ 80 และ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา ก่อนและหลังการเรียน (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชาวนาตัวอย่างในท้องถิ่น ที่มีต่อหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
วิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 1 เพื่อการทดลองใช้ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่าง 2 เพื่อการทดลองใช้หลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่าง 3 เพื่อการใช้หลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 3 ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 42 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) หลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นชาวนาตัวอย่างในท้องถิ่น 4) แบบประเมินความพึงพอใจนักเรียน ที่มีต่อหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ ได้หลักสูตรที่มีองค์ประกอบ คือ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร สาระการเรียนรู้ เวลาเรียน แนวการจัดกิจกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสม โดยมีประสิทธิภาพของหลักสูตรเท่ากับ 80.22 / 81.67
2. คู่มือครูประกอบการใช้หลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า องค์ประกอบของคู่มือครูซึ่งได้แก่สาระสำคัญ จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ เวลาเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.87 )
ส่วนคู่มือนักเรียนซึ่งประกอบด้วย คำชี้แจง ใบงานและใบความรู้ การวัดและประเมินผล พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.87)
3. ผลการใช้หลักสูตรสาระเพิ่มเติมเรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติงานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินหลักสูตสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา พบว่า ความคิดเห็นของชาวนาตัวอย่างในท้องถิ่นที่มีต่อหลักสูตร โดยสรุป พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม สัมพันธ์เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการให้ ชาวนาตัวอย่างในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้ ทักษะต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนับเป็นสิ่งดีมาก
5. ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน จากการเรียนหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง หลักการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แนวคิดศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจหลักสูตร ในระดับมากที่สุด ( =4.43)