รายงานผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านปง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านปง จำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 แผน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย วิชาสุขศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า E1/ E2 สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.50/82.53 แสดงว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ (E1/E2) เท่ากับ 80 / 80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 ก่อนเรียนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.12 คิดเป็นร้อยละ 60.40 การทดสอบหลังเรียนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.76 คิดเป็นร้อยละ 82.53 ซึ่งปรากฏว่าค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละหลังการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 22.13
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายในร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ซึ่งอยู่ในระดับดี