ชื่องานวิจัย รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน นางสาวพนิดา ศักดิ์ศรี
โรงเรียนหมู่ห้าสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหมู่ห้าสามัคคี ปีการศึกษา 2560 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพเครื่องมือ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนหมู่ห้าสามัคคี อำเภอตรอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน จำนวน 10 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สูตร / เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะและวิเคราะห์พัฒนาการทางด้านความรู้ ของนักเรียนด้วยการทดสอบที (ttest)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 83.11 /82.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน สูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหมู่ห้าสามัคคีที่มีต่อแบบฝึกทักษะพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄)= 4.76 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.43