การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
โดยใช้ชุดกิจกรรม
ชื่อผู้วิจัย นาง สหวรรณ วรรณจิตจรูญ
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีที่ทำการวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 โดยใช้ชุดกิจกรรม
โรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัยอายุ 4-5ปี กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สังกัดโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 มีจำนวน 11 คน ใช้วิธีการสุ่มโดยเลือกสุ่มแบบเจาะจง ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ พัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ก่อนและหลังเรียน จากการจัดกิจกรรมการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 โดยใช้ชุดกิจกรรม โดยใช้ t-test
ผลการวิจัย
1. ผลการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่าก่อนการจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถด้านการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 จากนักเรียนทั้งหมด 11 คน มีความสามารถด้านพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ในระดับต่ำร้อยละ 3.27 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ ( = 3.27, S.D. =0.90) และหลังการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่าก่อนการจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถด้านการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 จากนักเรียนทั้งหมด 11 คน มีความสามารถด้านพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ในระดับสูงร้อยละ 86.36 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ ( =8.63 , S.D. =0.92) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการพัฒนาความสามารถด้านการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภายหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และชั้นความเป็นอิสระเท่ากับ 10 มีค่า t ซึ่งมีค่า 26.45 นั่นคือ เด็กปฐมวัยภายหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 มีความสามารถด้านความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 สูงกว่าก่อนเรียน
2. ด้านความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรมจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับรู้ค่าจำนวน 1 10 ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก