ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะ
และเทคนิค KWL กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวน้ำฝน พงษ์กองเงิน
โรงเรียน บ้านเมืองตึง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะ และเทคนิค
KWL กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและ หาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิค KWL กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาความก้าวหน้า ของผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับเทคนิค KWL และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ และเทคนิค KWL ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเมืองตึง ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1. แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิค KWL จำนวน 6 เล่ม 2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คู่กับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิค KWL ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับเทคนิค KWL กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทุกชุด วิเคราะห์ข้อมูล และหาประสิทธิภาพ E1/E2 ของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิค KWL กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม มีประสิทธิภาพของของแบบฝึกทักษะ เท่ากับ 85.06/89.67 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับเทคนิค KWL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิค KWL กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 0.16