ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning) Together Technique
ผู้วิจัย นายยงยุทธ ชัยทอง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเรียน การสอน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 2) ศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียน การสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technical) 3) ศึกษา ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและ การดำรงชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนการ แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technical) และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและ การดำรงชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technical) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) เทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technique) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 จำนวน 10 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อย 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะ ทางสังคมแบบปรนัย จำนวน 27 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปโดยใช้การบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2557 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ยังไม่หลากหลาย ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ ผู้เรียน ไม่ทราบว่าเมื่อเรียนไปแล้วจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร และจากรายงานผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับจังหวัด อีกทั้งยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดร้อยละ 70 และจากการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน พบว่า มาตรฐานที่ 6 นักเรียนมีทักษะ ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับพอใช้
2) ผลการพัฒนารูปแบบการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technical) ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นประเมินงานกลุ่มและขั้นสรุป และ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.94)
3) ทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technique) นักเรียนร้อยละ 70.00 มีคะแนนทักษะทางสังคมในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 72.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technique) นักเรียนร้อยละ 80.00 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 73.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technique) ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 เรื่องวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคมในภาพรวม มีระดับดี เมื่อประเมินในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล ตามลำดับ