การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่สร้างขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดดาวคนอง สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและ การเขียนคำในมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 85.48/86.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด
ที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าทางการเรียน เท่ากับ 0.77 แสดงว่านักเรียน
มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.77 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.00
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่สร้างขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด