ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้
กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560
ผู้รายงาน นายพรศักดิ์ ทิพย์วงษ์ทอง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559-2560
บทสรุป
รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรายงานกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 2) เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 โดยพิจารณาจาก 2.1) ระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 2.2) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 2.3) พฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 2.4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 333 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 92 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 103 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 333 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาจำนวน 1 ฉบับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวน 1 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .90-.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการดำเนินโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. กระบวนการหรือขั้นตอนที่ใช้ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานใช้กระบวนการเชิงระบบ 6 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า SAPAER ดังนี้
S = Survey เป็นขั้นตอนการสำรวจปัญหาและความต้องการจำเป็นก่อนดำเนินโครงการ
A = Analysis เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา
P = Plan ขั้นตอนการพิจารณาทางเลือกและวางแผนแก้ปัญหา
A = Action ขั้นตอนการปฏิบัติขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่กำหนด
E = Evaluation ขั้นตอนการวัดผลประเมินผล
R = Report ขั้นตอนการสรุปรายงานผลและเผยแพร่
2. ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ จำแนกเป็น
2.1 สรุปคุณภาพในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินโดยรวมพบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D. = .58) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.48, S.D. = .57) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.42, S.D. = .58) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4. 39, S.D. = .65) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = .60) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.67, S.D. = .62) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.61, S.D. = .60 และ .64) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2.2 สรุปการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = .64) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.34, S.D. = .74) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่กลุ่มนักเรียน ( = 4.20, S.D. = .54) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4. 12, S.D. = .79) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = .62) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.59, S.D. = .60) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.55, S.D. = .71) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4. 51, S.D. = .51) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2.3 สรุปพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = .86) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้ปกครอง โดยกลุ่มครู ( = 4.35, S.D. = .81) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.22, S.D. = .89) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = .60) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้ปกครอง โดยกลุ่มครู ( = 4.65, S.D. = .59) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.57, S.D. = .60) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2.4 สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 จำแนกเป็น
2.4.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ม.1-ม.6) 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2559 มีคะแนน GPA เฉลี่ย 2.92 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนน GPA เฉลี่ย 2.98 คะแนน GPA เฉลี่ยเพิ่มขึ้น +0.06
2.4.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 ระดับชั้น ม.3 โดยรวม 5 สาระหลัก คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 39.00 ปีการศึกษา 2560 โดยรวม 4 สาระหลักคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 34.02 โดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย ลดลง -4.98 ระดับชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2559 โดยรวม 5 สาระหลักคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 32.38 ปีการศึกษา 2560 5 สาระหลัก โดยรวมคะแนนเฉลี่ย 31.42 โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ย ลดลง -0.95
2.5 สรุปความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2559-2560 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = .68) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียนมีความพึงพอใจสูงสุด ( = 4.30, S.D. = .90) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.29, S.D. = .91) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูมีความพึงพอใจต่ำสุด ( = 4.20, S.D. = .88) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = .56) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.65, S.D. = .59) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.61, S.D. = .58) ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่ำสุด ( = 4.52, S.D. = .59) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการดำเนินโครงการไปใช้
1. ข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่นในการดำเนินโครงการทั้งระดับกลุ่มงานย่อย และกลุ่มงานหลักของโรงเรียน ควรใช้กระบวนการเชิงคุณภาพที่เป็นระบบครบวงจรมาใช้ในการดำเนินโครงการ ทุกโครงการจึงจะประสบผลสำเร็จ
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จโรงเรียนควรจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมที่เน้นทักษะการอ่าน กิจกรรมที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมที่เน้นการแก้ไขพัฒนา และกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน ร่วมประเมินผล และร่วมชื่นชมผลงาน
3. โรงเรียนควรส่งเสริมให้ใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ในการจัดโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และโครงการอื่น ๆ เพราะครูจะได้ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ ก่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน
ข้อเสนอแนะในการวิจัย/รายงานครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา