การจัดกิจกรรมการเรียนวิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ในระดับมัธยมศึกษา ยังขาดสื่อการสอนที่เป็นแบบฝึกทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีที่พอเพียงและหลากหลาย การพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแบบฝึกทักษะเป็นแนวในการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน สามารถแสวงหาความรู้โดยการฝึกฝนจากผู้สอนและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน โปงลาง สำหรับผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการบรรเลงเครื่องดนตรี (โปงลาง) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่ แผนพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) จำนวน 8 แผนกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ(B) อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.90 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .935 แบบประเมินทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีแบบรูบิคสกอร์ จำนวน 4 รายการ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรายวิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน โดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) อยู่ระหว่าง 0. 23 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ ( ) เท่ากับ 0.901 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.07/80.91
2. แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6877 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 68.77
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) โดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) มีทักษะการบรรเลง เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง)หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน โดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) มีความพึงพอใจโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป แบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน (โปงลาง) วิชาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพและมีดัชนีประสิทธิผลเหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้เรียน เกิดความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน ได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เป็นสื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติตามให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของการเรียน เป็นตัวอย่างในการพัฒนาในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป