บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา : พาฝัน เขื่อนเพชร
ปีที่ศึกษา : 2560
การดำเนินการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันต้นขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ จำนวน 1 เล่ม รวม 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตอนที่ 1 แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ จำนวน 15 คำ ตอนที่ 2 แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ จำนวน 15 คำ รวมคะแนน 30 คะแนน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากกลุ่มทดลองแบบกลุ่มใหญ่ จำนวน 28 คน มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.51/84.88 และจากการนำไปใช้กับประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันต้นขาม จำนวน 5 คน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.58/86.67 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.60 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 52.00 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 26.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.67 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยค่าคะแนนความก้าวหน้าพบว่า มีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 10.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 34.67 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำ และคำอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านบทบาทของผู้เรียน และด้านบทบาทการสอนของครู มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ย เท่ากับ 4.82 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด