หัวข้อวิจัย ผลการใช้แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง
ผู้วิจัย นางสาวมีนา ชูชื่น
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยโดยสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 และได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมแล้วจึงนำไปหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านหนองพัง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 9 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ วันที่ 21 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2560 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ตามหลักสูตรโรงเรียนบ้านหนองพัง พุทธศักราช 2553 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง จำนวน 14 ชุด 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.37 - 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 0.73 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 3) แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งเป็นแบบวัดมาตรการประเมิน 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย จำนวน 12 ข้อ ใช้แบบแผนในการทดลองแบบ One Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ E1 และ E2 ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test แบบ Dependent ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และ
ตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง มีประสิทธิภาพ 84.05/82.59
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองพัง หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และ
ตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ( x̄ = 24.78 ) สูงกว่าก่อนเรียน 67 ( x̄ = 11.67 )
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะและเกมคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 อยู่ในระดับมาก ( x̄= 2.74)