ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมแบบ BANGSAEN Model
ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี
ผู้รายงาน ดร.พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สพป.ชลบุรี เขต 1
ปีที่ดำเนินงานเสร็จ 2560
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งโครงการนี้เป็นการดำเนินการโครงการต่อเนื่อง (2559-2560) และได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ในปี พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้เพื่อ 1) ศึกษาและประเมินบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในของโรงเรียน วอนนภาศัพท์ก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการโครงการ 2) ประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์เกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ความสามารถ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านความสำเร็จของโครงการ โดยมีการดำเนินงานประเมิน 8 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันก่อนดำเนินงานโครงการ ขั้นตอนที่ 2) การประเมินบริบท (Context Evaluation) ขั้นตอนที่3) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ขั้นตอนที่ 4) ดำเนินการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ตามรูปแบบ ดังนี้ 1) การระดมความคิดเพื่อการดำเนินงาน (Brainstorming : B) 2) การสร้างความตระหนัก (Awareness : A) 3) การสร้างเครือข่ายผู้ร่วมพัฒนา (Network : N) 4) การบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good governance : G) 5) การกำหนดยุทธศาสตร์และตัวชี้วัด (Startegies and Indicators : S) 6) การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ (Action : A) 7) การประเมินความสำเร็จ (Evaluation : E) และ 8) การบรรลุมาตรฐานชาติ (National standard : N)
ขั้นตอนที่ 5 ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ผู้รายงานทำการประเมินผลที่ได้จากการดำเนินโครงการเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ แนวทางปฏิบัติที่ดีของโครงการ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู และคุณภาพสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 7 ประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1ขั้นตอนที่ 8 การศึกษาและประเมินหลังดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ (Post-Project) โดยใช้ข้อมูลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาและประเมินบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนวอนนภาศัพท์หลังดำเนินงานโครงการ และขั้นตอนที่ 9 การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน ให้เป็นวิธีการปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จเพื่อเผยแพร่การดำเนินงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นการดำเนินงานโครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 และเสร็จสิ้นการดำเนินงานในปี พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 1) แบบประเมินสภาพปัจจุบันก่อนดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์2) แบบประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันก่อนการดำเนินงานพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมแบบ BANSAEN Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ พบว่า สภาพปัจจุบันก่อนการดำเนินงานโครงการทั้งโดยรวมและทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ด้านอาคารสถานที่ อาคารประกอบ และเอนกประสงค์ และด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบรรยากาศ และสภาพแวดล้อม พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด โดยมีประเด็นสำหรับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ สวนหย่อมสวยงามเอื้อต่อการเรียนรู้ ภูมิทัศน์ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่ น่าเรียน บริเวณอาคารเรียน/สถานที่ สวยงาม สะดุดตา สภาพแวดล้อมเหมาะสม และถูกสุขลักษณะ และถนนภายในโรงเรียนสะอาด และเป็นระเบียบ ด้านอาคารสถานที่ อาคารประกอบ และเอนกประสงค์ มีประเด็นเพื่อการพัฒนาได้แก่ ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สวยงาม และปลอดภัย อาคารเอนกประสงค์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ห้องเรียนมีความสะอาด เป็นระเบียบ สวยงาม ห้องพยาบาลที่ถูกสุขลักษณะและพร้อมใช้งาน อาคารเรียนเหมาะสม สวยงาม และปลอดภัย และโรงอาหารสวยงาม สะอาดและถูกสุขลักษณะด้านแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา มีประเด็นเพื่อการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ จำนวนหนังสือและวัสดุการเรียนรู้เพียงพอ แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และห้องสมุดและกิจกรรมรักการอ่านเหมาะสม ห้องคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัย สหกรณ์โรงเรียนเป็นระบบและพร้อมให้บริการ สวนสมุนไพร พืชผักสวนครัวเอื้อต่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ธรรมะสำหรับนักเรียนเหมาะสมเรียนรู้ เป็นต้น
ตอนที่ 2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ตามรูปแบบประเมินจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีผลการประเมินดังนี้
ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โดยภาพรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่งมีเท่ากันสองข้อ คือ โครงการมีความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนและโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของผู้ปกครอง/ชุมชน รองลงมา ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 และอันดับสุดท้าย คือ โครงการมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป็นไปได้ที่จะดำเนินการให้บรรลุผล ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือสนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการ รองลงมา คือ บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานตามโครงการ และอันดับสุดท้าย คือ บุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอและสามารถแบ่งหน้าที่รับผิดชอบโครงการได้
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) มีผลการประเมินในแต่ละปีการศึกษาดังนี้ ปีการศึกษา 2559 ผลการประเมินด้านกระบวนการตามโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวอนนภาศัพท์โดยภาพรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการดำเนินงานมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ครูและนักเรียนมีโอกาสร่วมกำหนดแผนงานปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน รองลงมา คือ มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน กิจกรรมการปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนมีความเหมาะสม ปีการศึกษา 2560 ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก ข้อที่มีผลการดำเนินงานมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ครูและนักเรียนมีโอกาสร่วมกำหนดแผนงานปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน รองลงมา คือ มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน กิจกรรมการปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนมีความเหมาะสม
การประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีผลการประเมินเป็นอันดับหนึ่ง คือ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนสวยงาม ร่มรื่นและมีความปลอดภัย รองลงมาคือ ห้องเรียนมีความสวยงาม สะอาดเรียบร้อย ภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสวยงาม แหล่งเรียนรู้เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ น่าอยู่ น่าเรียน
ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลทดสอบระดับชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (O-NET) ด้านผลสำเร็จของโครงการ และด้านความรู้ ความสามารถของนักเรียน ด้านความรู้ ความสามารถของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยรวมอยู่ในระดับ เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามที่ต้องการได้ นักเรียนได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันกิจกรรมและทักษะทางวิชาการ และนักเรียนมีความสามารถและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างเหมาะสม ตามลำดับ
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลทดสอบระดับชาติ (ONET) พบว่า ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นไปตามเกณฑ์ ด้านผลสำเร็จของโครงการ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมีภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นเหมาะสมแก่การเรียนรู้และการปฏิบัติงาน นักเรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่สดชื่นร่มรื่น และสวยงาม และนักเรียนได้รับความรู้และทักษะจากการใช้ห้องสมุดมีชีวิตและกิจกรรมรักการอ่านอย่างเป็นระบบ รวมทั้งครูได้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ น่าดู และน่าทำงาน ตามลำดับ
ตอนที่ 4 ผลการประเมินสภาพบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้หลังดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ด้านอาคารสถานที่ อาคารประกอบ และเอนกประสงค์ และด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ด้านบรรยากาศ และสภาพแวดล้อม พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ภูมิทัศน์ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่ น่าเรียน บริเวณอาคารเรียน/สถานที่ สวยงาม สะดุดตา สภาพแวดล้อมเหมาะสม และถูกสุขลักษณะ และอันดับสุดท้าย ได้แก่ สนามกีฬามีความเหมาะสมและพร้อมใช้งาน
4.2 ด้านอาคารสถานที่ อาคารประกอบ และเอนกประสงค์ พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ อาคารเรียนเหมาะสม สวยงาม และปลอดภัย ห้องเรียนมีความสะอาด เป็นระเบียบ สวยงาม อาคารเอนกประสงค์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และอันดับสุดท้าย ได้แก่ โรงอาหารสวยงาม สะอาดและถูกสุขลักษณะ
4.3 ด้านแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ห้องสมุดและกิจกรรมรักการอ่านเหมาะสม ห้องคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัย รวมทั้งสหกรณ์โรงเรียนเป็นระบบและพร้อมให้บริการ
4.4 ผลการเปรียบเทียบสภาพบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ก่อนและหลังดำเนินงานโครงการ พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาของโรงเรียนวอนนภาศัพท์หลังการดำเนินงานโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการดำเนินงานโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 (p<.01)
ตอนที่ 5 ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการในด้านความรู้ ความสามารถ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ (ONET) ระหว่างปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
5.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการประเมินผลการเรียนรู้ปลายปี พบว่า ทุกชั้นเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559-2560
5.2 มีผลการทดสอบระดับชาติ (ONET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 (25 มีนาคม 2560) โดยรวมสูงกว่าระดับประเทศ เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ส่วนสาระการเรียนรู้อื่น ๆ อยู่ในระดับสูงกว่าเขตพื้นที่การศึกษา
5.3 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวอนนภาศัพท์พบว่า โรงเรียนมีการพัฒนาระบบประกันภายในตามมาตรฐานการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวง ได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัดอยู่ในระดับดีมาก
5.4 รางวัลผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหลังดำเนินงานโครงการ มีดังนี้
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการประเมินผลการเรียนรู้ปลายปี พบว่า ทุกชั้นเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ ปีการศึกษา 2559
2. มีผลการทดสอบระดับชาติ (ONET) ปีการศึกษา 2559 (25 มีนาคม 2560) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมสูงกว่าระดับประเทศ เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ส่วนสาระการเรียนรู้อื่น ๆ อยู่ในระดับสูงกว่าเขตพื้นที่การศึกษา
3. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ พบว่า โรงเรียนมีการพัฒนาระบบประกันภายในตามมาตรฐานการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวง ได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัดอยู่ในระดับดีมาก และได้รับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
4. รางวัลผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหลังดำเนินงานโครงการ มีดังนี้
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ผลของการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ มีการวางแผนที่รัดกุมและได้รับความร่วมมือจากคณะครูและบุคลากร ทุกท่าน รวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทำให้เกิดผลงานจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นกับนักเรียนดังนี้
1. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภท
นักเรียนออทิสติกในการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ประจำปี 2560 เด็กชายกฤตยชญ์ วงศ์อารีย์
2. รางวัลหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันกีฬาเด็กพิเศษ ตามโครงการ อบจ.ชลบุรี ประเภทการแข่งขันวิ่ง 800 เมตร ชาย เด็กชายก้องภพ ดาวจิรโรจน์
3. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นประเภททีม ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 เด็กหญิงกัลยา ศรีเครือดำ , เด็กหญิงพรรณริษา กิจประยูร, นางสาวยุพรัตน์ มะโต, เด็กหญิงสายทิพย์ นะเรรัมย์และเด็กหญิงสุธิษา สิงห์สุข
4. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันเขียนภาพไทย
ประเพณี ม.1 - ม.3 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 เด็กชายกิตติภณ สารวรรณ์
5. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 การประกวดแปรรูปอาหาร
ม.1 - ม.3 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 นายณรงค์รัชน์ อรุณจันทร์ภักดี ,เด็กหญิงนฤมล พึ่งพินิจและเด็กชายศักดิ์สิทธิ์ แมดมิ่งเหง้า
6. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทองการแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ม.1-ม.3 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วยเด็กหญิงกรกนก นาขะมิน เด็กหญิงณัฐธิตา สุปะดิ และเด็กหญิงวรรณวิษา สมสามารถ
7. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันทำอาหารคาว
หวานเพื่อสุขภาพ ม.1-ม.3 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 นางสาวชลทิพย์ รื่นเริง , นางสาวชลธิชา ชาสงวนและเด็กหญิงนลินทิพย์ สร้อยระย้า
8. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันวาดภาพระบายสี ประเภท
นักเรียนที่มีความบกพร่องสติปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 เด็กชายพุฒิพงศ์ สมบูรณ์ทรัพย์
9. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขันร้องเพลง
ไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 เด็กชายทวีศักดิ์ พรมแก้ว
10. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันวาดภาพด้วยโปรแกรม Paint
ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษา เด็กชายพานทอง ทะวะลัยและเด็กชายบุญเลิศ นาคประเสริฐ ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560
11. รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขันวาดภาพ
ด้วยโปรแกรม Paint ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องสติปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษา เด็กชาย กิตตธัช คาห์ล และเด็กหญิงวรารัตน์ วิสาสะ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560
12. โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการคึกษา 2559 เป็นลำดับที่ 1 ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ผลที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน
ผลของการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ มีการวางแผนที่รัดกุมและได้รับความร่วมมือจากคณะครูและบุคลากรทุกท่าน ทำให้เกิดผลงานที่เกิดขึ้นกับครูดังนี้
1. นางสุมาลิน บัวอรุณแสงสว่าง รางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทองยอดเยี่ยม ด้านสื่อ
นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม การประกวดผลงานทางวิชาการและผลการปฏิบัติงานที่ดี Best Practice ปีการศึกษา 2560
2. นางสุมาลิน บัวอรุณแสงสว่าง รางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทองยอดเยี่ยม ด้านการวิจัย
และพัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวม การประกวดผลงานทางวิชาการและผลการปฏิบัติงานที่ดี Best Practice ปีการศึกษา 2560
3. นางสุมาลิน บัวอรุณแสงสว่าง ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนการพัฒนาศักยภาพด้าน
ภาษาอังกฤษ จากสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย (Thailand TESOL) โดยเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเข้าร่วม การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง Digital Literacy in English Language Learning and Teaching ที่จังหวัดเชียงใหม่
4. รางวัลผลงานดีเด่นรางวัล MOE Awards กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2559
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สาขาเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ประเภทบุคคล นางกรุณา กลมทุกสิ่ง ระดับผลงานดี
5. รางวัลผลงานดีเด่นรางวัล MOE Awards กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2559
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สาขาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประเภทบุคคล นางพรพิณ ฌานจิตกุศล ระดับผลงานดีเด่น
6. รางวัลผลงานดีเด่นรางวัล MOE Awards กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2559
ระดับประเทศ สาขาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประเภทบุคคล นางพรพิณ ฌานจิตกุศล ระดับผลงานดีเด่น
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้บริหารสถานศึกษา
ผลของการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ มีการวางแผนที่รัดกุมและได้รับความร่วมมือจากคณะครู
และบุคลากร ทุกท่าน รวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทำให้เกิดผลงานที่เกิดกับตนเองดังนี้
1. รางวัลการประกวดสื่อ นวัตกรรม เทคนิค/วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะแห่ง
ศตวรรษ ที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม(Learning and Innovation Skills) ประเภทผู้บริหารโรงเรียน ระดับภูมิภาคของศูนย์การเรียนรู้ที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2560 รางวัลชนะเลิศ ระดับ เหรียญทอง
2. นายพลธาวิน วัชรทรธำรงค์ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับเขตพื้นที
ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2560 ประเภทผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ชนะเลิศระดับเหรียญทอง
3. นายพลธาวิน วัชรทรธำรงค์ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับภาคกลาง
และภาคตะวันออก ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2560 ประเภทผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน รองชนะเลิศระดับเหรียญทอง
4. นายพลธาวิน วัชรทรธำรงค์ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ ครั้งที่
7 ประจำปีการศึกษา 2560 ประเภทผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน รองชนะเลิศระดับเหรียญทอง
ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
ผลของการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ มีการวางแผนที่รัดกุมและได้รับความร่วมมือจากคณะครู
และบุคลากร ทุกท่าน รวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทำให้เกิดผลงานที่เกิดกับโรงเรียนดังนี้
1. รางวัลสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ปี 2560 และศูนย์การเรียนรู้
เศรษฐกิจ พอเพียงด้านการศึกษา ปีพ.ศ. 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
2. รางวัลสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านแหล่งชุมชน ประเภทหนังสือ
ส่งเสริมการอ่าน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2560
3. รางวัลสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านแหล่งชุมชน ประเภทโครงงาน
ประวัติศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2560
4. สถานศึกษานำร่องการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำจังหวัดชลบุรี และการพัฒนาระเบียง
เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
5. รางวัลสถานศึกษาที่มีระบบประกันคุณภาพภายในระดับดีเยี่ยม ประจำปีการศึกษา 2560
ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
6. รางวัลสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่
การศึกษา
7. รางวัลผลงานดีเด่นรางวัล MOE Awards กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2559
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สาขาป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประเภทสถานศึกษา ระดับผลงานดีเด่น
8. รางวัลสถานศึกษาดีเด่นโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทาง
ถนนจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2560
9. รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายโครงการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง นวัตกรรมพัฒนาผู้สอน เสริมสร้างภูมิปัญญาผู้เรียน เพื่อลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ประจำปี 2560
10. รางวัลประกาศเกียรติคุณในฐานะโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ
แบบภควันตภาพ หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ สาขาวิชาการจัดการโรงเรียน โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา และโรงแรมบางแสนเฮอริเทจ ปีการศึกษา 2560
11. รางวัลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของมูลนิธิสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา โดยผ่านการประเมินรอบที่สอง บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2560-2562
12. รางวัลเกียรติบัตรระดับเงิน อันดับที่ 4 โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ
อบายมุข ปีการศึกษา 2560 ระดับพื้นที่การศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
13. เกียรติบัตรเข้าร่วมโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน
จังหวัดชลบุรี (มาตรการองค์กรสวมหมวกนิรภัย 100 %) จากสำนักงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจากจราจรระดับจังหวัด ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด ร่วมกับสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.)