|
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่องระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ มีค่าร้อยละ 50 ขึ้นไป 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ประชากรของการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองถ่มวิทยา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ จำนวน 7 แผนๆ ละ 3 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 83.93/82.92 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5551 คิดเป็นร้อยละ 55.51 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
|
โพสต์โดย จัน : [24 เม.ย. 2561 เวลา 10:29 น.] อ่าน [5233] ไอพี : 1.1.228.57
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 269,118 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,053 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,242 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,079 ครั้ง
| เปิดอ่าน 51,133 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,140 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,738 ครั้ง
| เปิดอ่าน 2,921 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,209 ครั้ง
| เปิดอ่าน 51,205 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,193 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,872 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,555 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,985 ครั้ง
| เปิดอ่าน 248,064 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 48,975 ครั้ง
| เปิดอ่าน 65,772 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,599 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,356 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,335 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|