บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านก่อนและหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่นชุด สตูลมรดกทางธรณี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 นักเรียน 42 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี (2) แบบประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของทักษะการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ฉบับละ 40 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบแบบที (t - test) ใช้ค่า E1 และ E2 หาค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือ
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี ที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.02/81.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 4 หลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านสารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน สารคดีท้องถิ่น ชุด สตูลมรดกทางธรณี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยรวมมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54 , S.D = 0.70)