ชื่อวิจัยและพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้ TALENTER Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี
ผู้วิจัย ดร.พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สพป.ชลบุรี เขต 1
ปีที่วิจัยเสร็จ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้ TALENTER Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ 2) สังเคราะห์กำหนดกรอบแนวคิดและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการบริหารจัดการคุณภาพโดยใช้ TALENTER Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ 3) นำรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการบริหารจัดการคุณภาพโดยใช้ TALENTER Model ไปใช้พัฒนาผู้เรียน และ 4) รายงานผลการการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้ TALENTER Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี โดยมีการดำเนินงานวิจัย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์และกำหนดคุณลักษณะและทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยการบริหารจัดการคุณภาพโดยใช้ TALENTER Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ ขั้นตอนที่ 4 การนำรูปแบบและกิจกรรมไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการบริหารจัดการคุณภาพโดยใช้รูปแบบ TALENTER Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และขั้นตอนที่ 6 การประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแต่ละขั้นตอนครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 458 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2559-2560
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) แบบประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ ซึ่งครอบคลุมคุณลักษณะและทักษะใน 5 ด้าน ได้แก่ ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ทักษะการคิด การเรียนรู้และนวัตกรรม 3) ทักษะชีวิตและการงานอาชีพ 4) ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี และ 5) ทักษะภาษาและการสื่อสาร ประกอบด้วย 12 ประการ ดังนี้ การอดออมประหยัด ซื่อสัตย์สุจริต จิตสาธารณะ ทักษะการคิดชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สนุกกับการอ่าน เบิกบานในธรรม ก้าวล้ำภาษา/ICT มีวิถีประชาธิปไตย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมศึกษา และเห็นคุณค่าอัตลักษณ์และอาชีพในท้องถิ่น และ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติ (ONET) และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
การดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน โรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และเสร็จสิ้นการดำเนินงานในปี พ.ศ.2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples สำหรับการทดสอบผลการประเมินก่อนและหลังการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี และสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับ
นักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความต้องการจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะผู้เรียนในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านทักษะชีวิตและการงานอาชีพ 2) ด้านทักษะการคิด การเรียนรู้และนวัตกรรม 3) ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี 4) ทักษะภาษาและการสื่อสาร และ 5) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ตามลำดับ
2. รูปแบบการการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียน
วอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการกำหนดกรอบทักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย T (Target Goal) การตั้งเป้าหมายเพื่อการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี ในการดำเนินงานครั้งนี้ มีจุดเน้นเพื่อการพัฒนาทักษะนักเรียนให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ การทำงาน การอยู่รอด ทักษะชีวิตและบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งครอบคลุมถึงทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ทักษะการคิด การเรียนรู้และนวัตกรรม 3) ทักษะชีวิตและการงานอาชีพ 4) ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี และ 5) ทักษะภาษาและการสื่อสาร โดยสะกัดและจัดระบบเป้าหมายการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ออกเป็นหมวดหมู่ได้ 12 ประการ ดังนี้ 1) อดออมประหยัด 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) จิตสาธารณะ 4) ทักษะการคิด 5) ชีวิตพอเพียง 6) หลีกเลี่ยงอบายมุข 7) สนุกกับการอ่าน 8) เบิกบานในธรรม 9) ก้าวล้ำภาษา และ ICT 10) มีวิถีประชาธิปไตย 11) ใส่ใจสิ่งแวดล้อมศึกษา 12) เห็นคุณค่าอัตลักษณ์และอาชีพในท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความตระหนัก A (Awareness) เป็นการสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
ขั้นตอนที่ 3 การใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง L (Leadership) เป็นการใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารและทีมงานคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิชาการสำหรับพัฒนาครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบกิจกรรม E (Educational Activities) เป็นการออกแบบกิจกรรมเพื่อนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และบริบทในศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมผู้เรียนทั้งในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น
ขั้นตอนที่ 5 การสร้างเครือข่าย N (Network) เป็นการสร้างภาคีเครือข่ายผู้ร่วมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน ชุมชน และผู้ปกครอง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 6 การปฏิบัติและตรวจสอบกิจกรรม T (Treatment) เป็นการนำกิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้ 12 รายการ ไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และบริบทในศตวรรษที่ 21 อย่างกว้างขวาง
ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผลงาน E (Evaluation) เป็นการประเมินผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จ ค้นหาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขการดำเนินงานให้ดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 8 การทบทวนเพื่อการพัฒนา R (Review for Improvement) เป็นการทบทวนเพื่อการปรับปรุง พัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการให้มีความเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้มากที่สุด
ซึ่งจากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้ TALENTER Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการ อดออมประหยัด ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการมีจิตสาธารณะ ด้านวิถีประชาธิปไตย และชีวิตพอเพียง ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนา
4. ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทักษะชีวิตและการงานอาชีพ ด้านทักษะด้านการคิด การเรียนรู้และนวัตกรรม ด้านทักษะ สารสนเทศและเทคโนโลยี (ICT) ด้านทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร และด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงกว่า
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวอนนภาศัพท์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ และผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ONET) ปีการศึกษา 2559 โดยรวมสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสูงกว่าระดับประเทศ
6. ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้ TALENTER Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด