การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนดงตาลวิทยา พุทธศักราช 2552 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ 2) เพื่อศึกษาผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนดงตาลวิทยา พุทธศักราช 2552 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ ประชากร ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 131 คน ครูผู้สอน จำนวน 32 คน ผู้ปกครอง จำนวน 131 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน รวมจำนวน 313 คน และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท โดยรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ หลักสูตรว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ สภาวะแวดล้อม (ชุมชน/หน่วยงาน/องค์กร) ความต้องการจำเป็นของบุคคล/หน่วยงาน ความเหมาะสมของนโยบายโรงเรียน พบว่า นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ หลักสูตรว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ความเพียงพอของทรัพยากร (ครูผู้สอน/สื่อการเรียนรู้) ความเหมาะสมของโครงสร้าง/เนื้อหาหลักสูตร ความเหมาะสมของจุดมุ่งหมายหลักสูตร ความพร้อมของปัจจัยสนับสนุน (อาคารสถานที่/แหล่งเรียนรู้) พบว่า นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ หลักสูตรว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พบว่า
นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ หลักสูตรว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ คุณลักษณะของผู้จบหลักสูตร การบรรลุจุดมุ่งหมาย พบว่า นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ โดยรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ หลักสูตรว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ความมีชื่อเสียง การศึกษาต่อ การมีงานทำ พบว่า นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
This research aimed to: 1) evaluate the school based curriculum of Dongtanwitthaya School B.E. 2552 (Revised Edition B.E. 2557) 2) consider improvements to the program. This evaluate research was based on the CIPP Model in 5 aspects, namely, context, input, process, output and impact. The population comprised of 131 students, 32 teachers, 131 students guardians, 14 school committees and 5 school executive board with a total of 313 populations. Relevant documents were also studied. The research tool were questionnaire, structured interview and content analysis. The data were analyzed and presented by percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results revealed as follows:
1. Regarding of the evaluation of school context, there was a high level of appropriateness. When considering each of the following aspects: school circumstances, social needs, school policy appropriateness, the study found that the opinions among students, teachers, students guardians, school committees and school executive board were at a high agreement level.
2. Regarding of the evaluation of school input, there was a high level of appropriateness. When considering each of the following aspects: sufficient supply, school curriculum appropriateness, aims of school curriculum appropriateness, school resource readiness, the study found that the opinions among students, teachers, students guardians, school committees and school executive board were at a high agreement level.
3. Regarding of the evaluation of school process, there was a high level of appropriateness. When considering each of the following aspects: school curriculum management, teaching and learning management, measurement and evaluation, the study found that the opinions among students, teachers, students guardians, school committees and school executive board were at a high agreement level.
4. Regarding of the evaluation of school product, there was a high level of appropriateness. When considering each of the following aspects: student attributes, goal attainments, the study found that the opinions among students, teachers, students guardians, school committees and school executive board were at a high agreement level.
5. Regarding of the evaluation of school impact, there was a high level of appropriateness. When considering each of the following aspects: reputation, continuing education, career, the study found that the opinions among students, teachers, students guardians, school committees and school executive board were at a high agreement level.