ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้
แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า อัจฉรา เอี่ยมบำรุง
โรงเรียนอัมรินทราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560ของโรงเรียนอัมรินทราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 17 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้
เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ77.64/76.67
2. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึก
ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD
มีค่าเท่ากับ 0.6253 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.53
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 10 ข้อ และมากที่สุด 2 ข้อ เรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ แบบฝึกเสริมทักษะทำให้ฉันเกิดทักษะในการคิดคำนวณ (x ̅=4.57)รองลงมา คือ ฉันชอบแบบฝึกเสริมทักษะที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (x ̅= 4.53)และฉันได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม สามารถซักถามเพื่อนในกลุ่ม ทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น(x ̅= 4.50)