ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้ชุดการฝึก การเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา : ภัควัฒน์ สุปินโน
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านคะปวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปีที่ศึกษา : 2559
....................................................................................................................
การดำเนินการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการฝึก
การเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคะปวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดแบบฝึก การเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคะปวง ก่อนและหลังการใช้ชุดการฝึกการเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคะปวง ที่มีต่อการเรียนโดยชุดการฝึกการเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคะปวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดการฝึกการเต้นแอโรบิก ประกอบจังหวะดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดการฝึกการเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี จำนวน 18 แผน แบบทดสอบประจำเรื่องและแบบทดสอบวัดความสามารถในการเต้นแอโรบิก เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อชุดการฝึกการเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยของนักเรียน
สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดการฝึก การเต้นแอโรบิกประกอบจังหวะดนตรี กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
ทั้ง 6 เล่ม การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 คือเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 80.15/82.42
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดการฝึกการเต้นแอโรบิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่ามีค่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย 18.37 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเท่ากับ 57.62
3. ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการฝึกการเต้นแอโรบิก
ประกอบจังหวะดนตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยรวม 4.10
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี