บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : รายงานการบริหารแบบมีส่วนร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ผู้รายงาน : นางวลัยพรรณ ใจคำ
ปีการศึกษา : 2560
การรายงาน เรื่อง การบริหารแบบมีส่วนร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อดำเนินการบริหารแบบมีส่วนร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 และเพื่อประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และความพึงพอใจต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลผล จัดอันดับ และนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการบริหารแบบมีส่วนร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้ และพัฒนาฐานการเรียนรู้ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการใน 2 ส่วน ได้แก่ การบริหารสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ และการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้บูรณาการเข้ากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียน และการประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกห้องเรียน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพและการออม ประกอบด้วยกิจกรรมการผลิตน้ำยาบ้วนปาก การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงกบ การออมทรัพย์ ออมความดี และฐานการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย การทำปลาส้ม การทำขนม การปลูกพืชสมุนไพร และการทำแคบหมูโดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลผลิต (Output) คือ 1) เพื่อให้โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่มีฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย 2) เพื่อให้นักเรียนบ้านสันเวียงใหม่ได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างทั่วถึง 3) เพื่อให้โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และวัตถุประสงค์ด้านผลลัพธ์ (Outcome) คือ 1) โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่มีฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย 2) นักเรียนโรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน และ 3) ครูและนักเรียนบ้านสันเวียงใหม่ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ใช้ชีวิตประจำวันได้ มีเป้าหมาย คือ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่จัดทำฐานการเรียนรู้ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนักเรียนสามารถเรียนตามฐานที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมินได้ และมีตัวชี้วัดความสำเร็จ ได้แก่ 1) ร้อยละของนักเรียนและบุคลากรที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรและนักเรียน ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ 1) นักเรียนโรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน 2) โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่มีฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย และ 3) ครูและนักเรียนบ้านสันเวียงใหม่ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมในโครงการ ผลการดำเนินงาน พบว่า 1) โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่มีฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย ซึ่งบรรลุตามจุดประสงค์ของโครงการ และ 2) นักเรียนโรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน พบว่า บรรลุตามจุดประสงค์ของโครงการ สำหรับปัญหาอุปสรรคด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรมีน้อย แนวทางแก้ไข คือ ขอสนับสนุนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัญหาด้านงบประมาณ/ค่าใช้จ่าย พบว่า ได้รับจัดสรรน้อยเกินไป แนวทางแก้ไข คือ ขอการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เช่น ประมงอำเภอ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ จุดเด่นของโครงการ คือ กิจกรรมการเรียนรู้มีความหลากหลาย คณะครูให้ความร่วมมือ ดูแลแต่ละกิจกรรม จุดที่ควรพัฒนาของกิจกรรม/โครงการ คือ ควร เพิ่มงบประมาณในการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการ คือ ครูควรสร้างความตระหนักต่อผู้เรียนถึงผลที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ครู ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้เรียน และครูควรเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงและผลที่เกิดขึ้นจริงได้คิดและแก้ปัญหาจริงๆ
2. ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านผลผลิต ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และด้านปัจจัยเบื้องต้น มีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า
ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมของโครงการมีความชัดเจน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และวัตถุประสงค์ของโครงการส่งผลให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นในความสำเร็จของโครงการ และผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการประชุม วางแผนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ด้านการร่วมกันวางแผน (Planning) คือ แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการฯ พร้อมระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ และการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของโครงการมีความชัดเจน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ด้านการร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing คือ ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานของโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด ประชาสัมพันธ์ ประชุม ชี้แจงให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการให้ผู้ปกครองได้ทราบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ด้านการร่วมกันตรวจสอบ (Checking) คือ มีการวัดและประเมินผลว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายน้อยเพียงใด และครูผู้รับผิดชอบแต่ละชั้นเรียนสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรมและพฤติกรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และด้านการร่วมกันปรับปรุง (Action) คือ นำผลการผลการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลโครงการมาปรับปรุงวิธีการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม และสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลโครงการมาเป็นข้อมูล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนต่อไป มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ด้านผลผลิต พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยโรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมของโครงการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และระยะเวลาที่กำหนด และโรงเรียนมีฐานความรู้สำหรับการจัดกิจกรรมของโครงการ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ด้านความพึงพอใจของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านสันเวียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้