บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง ผลการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
โรงเรียนวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
โดย นางอรอนงค์ อรรถเวทิน
ผู้ฝึกประสบการณ์การนิเทศการศึกษา
บทคัดย่อ
รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ผลการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โรงเรียนวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ(Coaching)ในการส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2)เพื่อพัฒนาการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โรงเรียนวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการนิเทศ แบบสำรวจสภาพ และปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และแบบบันทึกการนิเทศ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาเลือกใช้กระบวนการ PLC ร่วมกับรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ผลการศึกษา พบว่า 1) ครูกลุ่มเป้าหมายสามารถจัดทำ (ร่าง) หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โรงเรียนวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ได้เป็นผลสำเร็จด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
(x̄= 2.13, S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูทราบสาเหตุในการปรับปรุงหลักสูตร
น้อยที่สุด(x̄ = 1.51, S.D. = 0.63) รองลงมา คือ ครูทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ที่มีการปรับปรุง (x̄= 1.58, S.D. = 0.61) ด้านความต้องการได้รับการแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.57, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูต้องการคำแนะนำ ช่วยเหลือ ด้านกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร มากที่สุด (x̄= 4.80, S.D. = 0.41) รองลงมา คือ ความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
(x̄= 4.55, S.D. = 0.64) และ 2) รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) สามารถส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้