ชื่อเรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตและใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อการเรียน
การสอนที่ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
น้อมเกล้า นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ศึกษา นางนิตยา กลับแก้ว
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนมีองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ สื่อการสอน เนื่องจากสื่อการสอนเป็นสื่อกลางระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น และทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพราะสื่อการสอนจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในอนาคต การพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตและใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อการเรียน
การสอน ที่ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตและใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามกรอบการผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบสื่อ การผลิตสื่อ และการนำสื่อไปใช้โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมศึกษามีจำนวน 35 คนได้มาด้วยความสมัครใจ ประกอบด้วย ผู้ศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 34 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 100 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 34 คน และนักเรียน จำนวน 60 คน โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา การฝึกอบรม การมอบหายงาน และการนิเทศ ติดตาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมินสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อหาประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) และดัชนีประสิทธิผลของสื่อการสอน (E.I.) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลจากการพัฒนาการออกแบบสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถออกแบบสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ บรรยากาศการฝึกอบรมสนุกสนานเนื้อหาเข้าใจง่าย ผลการมอบหมายงานการออกแบบสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์เนื้อหา ออกแบบสื่อ เขียนแผนผังงาน และเตรียมข้อมูลสำหรับการผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกคน สอดคล้องตาเนื้อหาระที่ตนเองเป็นผู้สอน ผลการพัฒนาการผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Desktop Author Pro 6.0 ได้ บรรยากาศการฝึกอบรมเติมไปด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ผลการมอบหมายงานการผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Desktop Author 6.0 ได้ หลังจากการได้ปรับปรุงและพัฒนาสื่อแล้ว จึงนำสื่อไปให้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และผู้อำนวยการโรงเรียน ประเมินประสิทธิภาพของสื่อ และทดลองใช้กับผู้เรียน เพื่อหาประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) ตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 86.63/83.20 และดัชนีประสิทธิผลของสื่อ (E.I.) เท่ากับ 0.7462 หรือนักเรียนมีคะแนนความหน้าทางการเรียนร้อยละ 74.62 ผลการพัฒนาการนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับดีมากที่สุด