ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคลองปีก
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ชื่อผู้ประเมิน : นายเจตน์ วรรณเริก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองปีก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ปีพุทธศักราช : 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคลองปีก
ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ (2)เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3)เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (4)เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียน จำนวน 33 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 33 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารจำนวน 2 คน) รวมจำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ (1) แบบสอบถามด้านบริบทของโครงการ (2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3) แบบสอบถามด้านกระบวนการของโครงการ (4) แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ (5) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (6) แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และการหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมินโครงการ
จากการศึกษาการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านคลองปีก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านคลองปีก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิตของโครงการ ด้านบริบทของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
2. การประเมินด้านบริบทของโครงการ ผลการประเมินพบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับ มาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ และ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด/โรงเรียน
3. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีความเพียงพอเหมาะสม อยู่ในระดับ มากเรียงสำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร และ ความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ
4. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก
5. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ คะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ กิจกรรมพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ กิจกรรมถั่วงอกคอนโด กิจกรรมเพาะเห็ด กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัวและกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ
6.ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลการดำเนินงานโครงการในระดับมากที่สุด โดยได้คะแนนรวม 88.60 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกัน โดยผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดของการประเมินทั้ง 4 ด้าน จำนวน 13 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินทั้ง 13 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้
ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านกระบวนการขั้นตอนโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 9 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของกิจกรรม ความสอดคล้องกับนโยบาย ต้นสังกัด / โรงเรียน ความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการดำเนินงานพัฒนา โครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ ผลการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง