ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
และคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายพลเดช พิชญ์ประเสริฐ
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2.1 ) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80
(2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (2.3) ศึกษาการกำกับตนเองของนักเรียนที่เรียนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาบริบท สภาพปัจจุบัน และความต้องการของสังคม แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และการวิจัยระยะที่ 3 การดำเนินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ เปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 6 องค์ประกอบคือแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน ระบบสังคมหลักการตอบสนองและระบบสนับสนุน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นพิจารณาไตร่ตรอง ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างความรู้ ขั้นที่ 3 เสริมคุณลักษณะ ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินผล
ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
และคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.58/81.57 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด และสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการกำกับตนเองได้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา