ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางวัชราภรณ์ ปาละวันนา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเด่น อำเภอสบปราบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คือ
1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการศึกษาพบว่า
แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.28 / 83.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 47.04 ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวม ( μ ) เท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( σ ) เท่ากับ 0.22 สรุปนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมาก