ชื่อผลงาน การประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2560
ผู้ประเมิน นางภารดี สุขอนันต์
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
การประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการ กระบวนการในการดำเนินโครงการ และผลผลิตการดำเนินงานโครงการ การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2560 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP (CIPP Model) ประชากรในการประเมินในปีการศึกษา 2560 ครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน 105 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน 1,338 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน 1,338 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,796 คน และกลุ่มตัวอย่างในการประเมินครั้งนี้โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างดังนี้
1. ครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie& Morgan) แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified RandomSampling) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ได้กลุ่มตัวอย่างครูปีการศึกษา2560 จำนวน 83 คน
2. นักเรียนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie& Morgan) แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามระดับชั้น แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2560 จำนวน 297 คน
3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) โดย ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครูได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน
4. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2560 จำนวน 297 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม 4 ฉบับ และแบบทดสอบ 1 ฉบับ พร้อมหาคุณภาพของแบบสอบถาม ดังนี้
1. วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ชุดที่ 1, 2, 3, 4.2 และ 4.3โดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbachs alpha- coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.930 , 0.913 , 0.941 , 0.897 และ 0.848 ตามลำดับ
2. วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในของคูลเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) ของแบบทดสอบ ชุดที่ 4.1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.855
3. ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และความถูกต้องของภาษาโดยใช้เทคนิค IOC ของแบบสอบถาม ชุดที่ 1, 2, 3, 4.1, 4.2 และ 4.3 ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป 4. วิเคราะห์ค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบของแบบสอบถาม ชุดที่ 4.1
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม และทดสอบ มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช โดยรวม สภาพแวดล้อมของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและต้นสังกัด สอดคล้องกับนโยบายชาติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.34 ) ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมของด้านสภาพแวดล้อม (Context) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการประเมินปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชในด้านงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยรวม มีความพอเพียงอยู่ในระดับมาก ( = 4.39 ) ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ด้านปัจจัย (Input) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการประเมินกระบวนการในการดำเนินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2560 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46 ) ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการ การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชด้านกระบวนการ (Process) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินผลผลิตการดำเนินโครงการ พบว่า
4.1 พบว่า นักเรียนโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชร้อยละ 91.60 มีผลการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มขึ้นในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด นักเรียนร้อยละ 38.46 มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับดี นักเรียนร้อยละ 40.00 มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก และนักเรียนร้อยละ 20.00 มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชพบว่า นักเรียนทั้งหมด (ร้อยละ 100) มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
4.2 พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชเห็นด้วยว่าเมื่อมีโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชมีผลทำให้นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน มีพฤติกรรมการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56 ) ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4.3 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช มีความคิดเห็นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.04) ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การส่งเสริมการจัดการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
จากการประเมินผลการดำเนินโครงการ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) ผลการประเมินปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 3) ผลการประเมินกระบวนการในการดำเนินโครงการ และ 4) ผลการประเมินผลผลิตการดำเนินโครงการ โดยผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งเหมาะสมที่จะดำเนินโครงการต่อเนื่องและขยายโครงการ จัดกิจกรรมให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมความสนใจของนักเรียนในทุกระดับชั้น และขยายสู่ผู้ปกครอง และชุมชนต่อไป