ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ประเมิน นางลักษมี พายุหะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการ 2) ศึกษาปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการ 3) ศึกษากระบวนการปฏิบัติระหว่างการดำเนินโครงการ 4)ศึกษาผลผลิตหลังการดำเนินโครงการ 5) ทราบผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการ และ 6) ทราบความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน เทศบาลตำบลละหานทราย และนักเรียน จำนวน 779 คน ได้จากการเปิดค่าตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan 1970 : 608-610) และวิธีการเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความเที่ยงและค่า F-test เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นต่อโครงการ
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ผลการประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม พบว่า บริบทและสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความคิดเห็นต่อ ด้านกระบวนการ ของโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความคิดเห็นหลังการดำเนินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อทำการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างพบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนในด้านพฤติกรรมนักเรียนและด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
5. ด้านผลกระทบ ผลการประเมิน ด้านผลกระทบ พบว่า ความคิดเห็นหลังเสร็จสิ้นโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
6. ระดับความพึงพอใจ โครงการพัฒนางานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพึงพอใจต่อโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพ รวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Research title : Evaluation of the school botanic garden development project.
Lahanatratchadapisek School Buriram province
Researcher : Laksame Phayuhah
Vice Director of Lahansairatchadapisek School
Year : 2015
Abstract
The objective of this study was to evaluate the botanical garden project at Lahansai ratchadapisek School in Buriram province. The evaluation the various aspects of the school botanical garden project of Lahansairatchadapisek School, in Buriram province involving the context, input, process, productivity, impact and to study the level of satisfaction of the involved bodies with school botanical garden project of Lahansairatchadapisek School in Buriram province. A total of 779 subjects including administrators, teachers, basic educational committees, parents students and municipal employees selected by table (Krejcie & Morgan 1970 : 608-610) and by means of the purposive sampling technique, were employed as the sample group of the study. The statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard aviation. Survey questionnaire was utilized as the research instrument.
The research findings were as follows:
1. The evaluation of the context aspect of school botanical garden project of Lahansairatchadapisek School in Buriram province was overall found to be at a high level.
2. The evaluation of the input aspect of school botanical garden project of
Lahansairatchadapisek School in Buriram province was overall found to be at a high level.
3. The evaluation of the process aspect of school botanical garden project of Lahansairatchadapisek School in Buriram province was overall found to be at a high level.
4. The evaluation of the productivity post-productivity of school botanical garden project of Lahansairatchadapisek School in Buriram province was overall found to be at a high level. Average student opinion on behavior of students and the use lower than the opinions of the administrators, teachers and the basic education committees.
5. The evaluation of the impact of school botanical garden project of Lahansairatchadapisek in Buriram province was overall found to be at a high level.
6. The satisfaction level of school botanical garden project of Lahansairatchadapisek School in Buriram province as a whole was found to be at a highest level.