ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านเพื่อเขียนสื่อความเชิงสร้างสรรค์
โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 22102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ
ผู้รายงาน นางสุวรรณี สายสุยะ
หน่วยงาน โรงเรียนเมืองแพร่ ตาบลป่าแดง อาเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา พ.ศ.2559 พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านเพื่อเขียนสื่อความเชิงสร้างสรรค์
โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ ครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 22102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านเพื่อเขียนสื่อความเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนและหลังเรียนรู้โดยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเมืองแพร่ ตาบลป่าแดง อาเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนจานวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling ) ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนเมืองแพร่ ได้มีการจัดนักเรียนแบบคละผสม แต่ส่วนมากนักเรียนจะเรียนหนังสือปานกลาง อ่อนและค่อนข้างอ่อนเพราะเป็นนักเรียนที่เหลือจากการสอบคัดเลือกของโรงเรียนประจาจังหวัดแล้ว โดยผลการเรียนพอใช้ ปานกลางมีจานวนน้อยและผลการเรียนอ่อนมีเป็นส่วนมาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ จานวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์เพื่อเขียนสื่อความเชิงสร้างสรรค์ เป็นแบบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าอานาจจาแนกรายข้อโดยวิธีของ Brennan ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลทาให้ได้ค่าอานาจจาแนกรายข้อ มีค่าระหว่าง 0.20-0.71 และค่าความยากมีค่าระหว่าง 0.23-0.70 จากนั้นได้ทาการประมาณค่า ความเที่ยง ( Reliability ) ของแบบทดสอบทั้งฉบับด้วยวิธีของ โลเวต ได้ค่าประมาณความเที่ยงเท่ากับ 0.92
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.47/89.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ โดยภาพรวมนักเรียนในระดับมากที่สุด
โดยสรุปคือ หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชุดสืบสานตานานของคนเหนือ ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ มีประสิทธิภาพเหมาะสมและสามารถนามาใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านเพื่อเขียนสื่อความเชิงสร้างสรรค์ตลอดจนมุ่งปลูกฝังให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองได้ร่วมกันรับรู้ว่ามีความเป็นมาของจังหวัดแพร่ นักเรียนร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของคนเหนือที่สืบต่อมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบันต่อไป