ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์
ง22102 โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางสาวเกศวิมล พลโสดา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดแนวทางการศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนสามารถใช้ซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน
ด้านการออแบบ ได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสามารถใช้ซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน
และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย
1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 45 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน10 แผน คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 เล่ม คุณภาพของบทเรียนจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 แสดงว่าบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ง22102แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 ถึง1.00 ถือว่ามีความเหมาะสมค่าความยาก(P) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก(B) ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.97 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ0.98และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.71 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ
เท่ากับ0.89สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบสมมติฐานใช้ t test (DependentSample)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.56/89.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง
คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.8020 แสดงว่านักเรียน
มีคะแนนเพิ่มขึ้น0.8020 คิดเป็นร้อยละ 80.20
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นับว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง