ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางรูสีตา อารง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ
หลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านกูแว (ประชาอุทิศ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือประกอบด้วยค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยาก-ง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.69/82.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 14.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.67 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 24.63 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.12 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนร้อยละ 35.45
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 4.64 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด