ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER)
เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางจำปา สมรัตน์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 2) ขั้นการออกแบบและสร้างรูปแบบ การเรียนการสอน 3) ขั้นทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) ขั้นการประเมินผลการใช้ รูปแบบการเรียนการสอน ในขั้นทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบแผน การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design)โดยใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้ จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน แบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ ค่าที (t - test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER)
เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบข้อสรุป ดังนี้
1.1 ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตาม
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบและมีความเหมาะสมในระดับมาก
ถึงมากที่สุด มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นสำรวจตนเอง (Survey : S) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Understanding : U) ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Plan and Problem solving : P) ขั้นอธิบายและขยายความรู้ (Explain and Expand : E) และขั้นวิเคราะห์ตรวจสอบ (Review : R)
1.2 ผลการหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและ
การแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.19/80.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER)
เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบข้อสรุป ดังนี้
2.1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER)
เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.5678 หมายความว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.78
2.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน
แบบสร้างความรู้จากการแก้ปัญหา (SUPER) เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.51