ชื่อวิจัย การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ตัวประกอบของ
จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะตามรูปแบบ
กระบวนการแก้ปัญหา
ผู้วิจัย นางจำปา สมรัตน์
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบฝึกทักษะตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ
ตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Design) ใช้กลุ่มทดลอง
แบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในรูปแบบที่เรียกว่า One - Group Pretest - Posttest Design กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 20 คน โดยได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) แบบฝึกทักษะ ตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย มีประสิทธิภาพ 85.97/84.50 ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ
ตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย มีความพึงพอใจต่อการเรียน
ด้วยแบบฝึกทักษะตามรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.62