การศึกษาการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรีง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ด้านความรู้
ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) เพื่อสร้างและพัฒนาผลการเรียนรู้
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรีง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ว16101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวนทั้งหมด 27 คน เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เครื่องมือ
ที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 11 ชุด 2) แผนการจัด
การเรียนรู้ จำนวน 13 แผน 3) แบบวัดผลและประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 0.75 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 0.44 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .823
แบบประเมินผลงานกลุ่มฝึกปฏิบัติ และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ t-test (paired sample
t-test) ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
2. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
สารในชีวิตประจำวัน มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ เท่ากับร้อยละ 88.33 ( x = 35.33, S.D. = 2.80) คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะกระบวนการ เท่ากับร้อยละ 98.25 (x = 54.04, S.D. = 1.22) และคะแนนเฉลี่ยด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เท่ากับร้อยละ 97.91 (x = 53.85, S.D. = 1.41) ซึ่งค่าเฉลี่ย
จากคะแนนผลการเรียนรู้ของนักเรียนในทุกด้านมากกว่าร้อยละ 80
3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 11 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.43/88.33 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีค่าเท่ากับ 0.7697 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.97
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (x = 4.56, S.D. = 0.50) และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .856