ผู้วิจัย นายรวีวัฒน์ รังคะราช
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิต
ประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่สร้างขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนดงไร่ราษฏร์พัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามวัด
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.95/85.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 โดยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าทางการเรียน เท่ากับ 0.7281 หรือคิดเป็น
ร้อยละ 72.81
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่สร้างขึ้น โดยส่วนรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้สูงขึ้น นักเรียนมีความสุข
และมีความพึงพอใจในการเรียน สามารถใช้เป็นแนวทางที่สามารถสนองนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้
และมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี