ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง
ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative
learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย : นางวีณา ชิณวงค์
ประเภท : การวิจัยในชั้นเรียน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80
2. เพื่อศึกษาผลของการใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง
ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้
2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 2.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 38 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก และแบบประเมินความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน หน่วย การเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม การหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน นำมาหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้การวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้สถิติ One sample t-test
ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต หลังจากนั้นนำค่าเฉลี่ยที่ได้มาแปลความหมายตามเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด.2553)
4.51 - 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
3.51 - 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
2.51 - 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
1.51 - 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
1.00 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีประสิทธิภาพ 85.81/ 82.23 และแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
2. ผลการทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
2.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น
เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อเอกสารประกอบ
การเรียน หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ธรณีวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี