บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)
เป็นกิจกรรมหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีความมุ่งหมายให้ผู้เรียนฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้าง
บุคลิกภาพและเกิดสุนทรียภาพทางดนตรีและการขับร้อง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ
1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การขับร้อง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน และการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนดงสมบูรณ์ประชารัฐ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 8 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
เรื่อง การขับร้องประสานเสียง จำนวน 20 แผน ทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การขับร้อง จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง การขับร้อง ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.27-0.54 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.81 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียน ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.65 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)
เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.01/86.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7778 ซึ่งหมายถึงว่าหลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.78
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การขับร้อง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ทั้งรายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)
เรื่อง การขับร้อง โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคดายร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการรำตามสาระดนตรีเพิ่มขึ้นและสามารถปฏิบัติกิจกรรมทางด้านดนตรีได้อย่างเหมาะสมเกิดความภาคภูมิใจ