ชื่อรายงานการวิจัย รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา
ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวปิยะมาศ ยินดีสุข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) อำเภอลำดวน
จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การจัดการศึกษายึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้หลักการของกระบวนการกลุ่มเข้าช่วยในการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษาชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ในปีการศึกษา 2557
จำนวน 25 คน ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
ด้วยวิธีการจับสลาก จากกลุ่มห้องเรียนทั้ง 2 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษาชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวั ฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.53 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 87.83/85.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 25.56) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 14.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษาชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7633 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7633 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.33
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา ชุด สุรินทร์ถิ่นวัฒนธรรมอีสานใต้ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.66)