ผู้รายงาน นายจรุญ ทองอินทร์
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2559
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 (2) เพื่อประเมินปัจจัยในการดำเนินงานของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 (3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนานายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 และ (4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตที่ได้จากโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 70 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ของโรงเรียนโรงเรียนโรงเรียนบ้านนานายกพิทยากร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 302 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม เรื่อง การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร ฉบับที่ 2 การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ปีการศึกษา 2559 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนโรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการจำเป็นของโครงการ ได้แก่ นักเรียนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รายได้ของครอบครัวนักเรียนมีน้อย และนักเรียนคบเพื่อนไม่ดี ความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องประสานสัมพันธ์เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบสังคมรอบๆ โรงเรียนและชุมชน เพื่อให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน และโรงเรียนมีการกำกับ และติดตามการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการ ได้แก่ การดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ การดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีขอบเขตเวลาที่แน่นอนในการปฏิบัติงาน และการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน และวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ และขั้นเตรียมการและการวางแผนการดำเนินงาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษามีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และ โครงการมีอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของโรงเรียน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ซึ่งความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอย่างเหมาะสมและชัดเจน ดำเนินงานโครงการ และจำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ ความเพียงพอของทรัพยากรต่างๆ คือ สถานที่จัดเก็บข้อมูลเอกสาร และเครื่องมือในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเหมาะสมและเพียงพอ และความเหมาะสมของระยะเวลาในการดำเนินโครงการ วิธีการที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและชัดเจน และงบประมาณที่ได้รับเหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการ
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการมีการประชุมชี้แจงและมอบหมายงานอย่างชัดเจน และมีการส่งต่อนักเรียนในกรณีที่มีปัญหาของนักเรียนยากต่อการช่วยเหลือ ผู้บริหารและคณะครูดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และมีการคัดกรองนักเรียนเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา และมีการประเมินพฤติกรรมของนักเรียน (SDQ) โดยครู นักเรียน และผู้ปกครอง ขั้นกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานมีการจัดทำระเบียนของนักเรียน มีการนำผลการประเมินการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปพัฒนา และมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารในการดำเนินงานที่ถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์และครอบคลุม ช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการ มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระยะเวลาที่กำหนด มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระยะเวลาที่กำหนด และมีเวลาเพียงพอในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายมากขึ้น นักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี และนักเรียนรู้จุดเด่น
จุดด้อย และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนรู้จุดเด่น จุดด้อย และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา นักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินการของโรงเรียน นักเรียนได้รับการช่วยเหลือและส่งเสริมตรงตามความต้องการ นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและแก้ไขที่ตรงกับปัญหา และโรงเรียนส่งเสริมดูแลสุขภาพของนักเรียน และความคิดเห็นที่มีต่อครูที่ปรึกษา นักเรียนมีความคิดเห็นว่าครูที่ปรึกษาให้การส่งเสริมกิจกรรมตรงตามความสนใจของนักเรียน นักเรียนมีความไว้วางใจต่อครูที่ปรึกษา และนักเรียนพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา และครูที่ปรึกษาเข้าใจในตัวนักเรียนเป็นอย่างดี
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน