เรื่อง ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต
ผู้วิจัย นางยินดี ปัญจเส็น
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ตเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักเรียนพัฒนาการคิดวิเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS จำนวน 9 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอบจ. เมืองภูเก็ต ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.27/82.23
2. แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัด การเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6420
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ที่เรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัด การเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต
โดยสรุป การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเหมาะสม สามารถพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจได้ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ รู้จักวิเคราะห์คำและความทั้งจากเนื้อหาที่กำหนดและเนื้อหาที่สนใจด้วยตนเอง ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงขึ้นและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้อย่างยั่งยืน จึงควรสนับสนุนให้ครูนำวิธีการการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป