บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวพิชญ์กานต์หางนาค
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) เทศบาลนครสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ
ระยะเวลาที่ทำการศึกษาภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2559
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1)เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องสมุทรปราการท้องถิ่นของเราชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 23)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องสมุทรปราการท้องถิ่นของเราชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2และ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องสมุทรปราการท้องถิ่นของเราชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเราแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t- test
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการ
ท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 83.70/84.22 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2เท่ากับ 0.7418 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 74.18เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งกลอน
สุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สมุทรปราการท้องถิ่นของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้