ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางสุชาดา ณ สงขลา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) สำนักการศึกษาเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (SPPI model) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ
3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ
1) ขั้นกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น (Stimulate curiosity) 2) ขั้นการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
(Peer interaction) 3) ขั้นฝึกทักษะ (Practicing) และ 4) ขั้นการจัดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Intellectual restructuring) ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา จำนวน 360 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (SPPI model) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (SPPI model) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผลการวิจัย (Conclusions)
1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
(SPPI model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น (Stimulate curiosity) 2) ขั้นการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน (Peer interaction) 3) ขั้นฝึกทักษะ (Practicing) และ 4) ขั้นการจัดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Intellectual restructuring)
2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (SPPI model) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (SPPI model) ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด