ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางอรทัย แก่นจันทร์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 2วิภัชศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.2) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2วิภัชศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 183 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 /1 มีนักเรียนจำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล 2วิภัชศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากห้อง (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบ สอบถามการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ ซึ่งมี ตั้งแต่ 0.43-0.80 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20-0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.7201 และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8079 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบ (t - test dependent ) ใช้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สรุปผลการวิจัย
1. การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีเห็นว่าสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ร้อยละ 76.79
2. การสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ชุดกิจกรรมจำนวน 4 ชุด มีคุณภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมากและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 1 ชุด คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การแยกสารผสม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.38/83.23 และมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 3 ชุด ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้เรื่องสาร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.68/82.26 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.42/80.65 และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.14/81.61 และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.69/80.97
3. การศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับ หลังเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนทดสอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกชุดกิจกรรมการเรียนรู้
3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45 , S.D.= 0.60) และอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.51 , S.D.= 0.57) และระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ ( = 4.47 , S.D.= 0.61) และด้านผลผลิต ( = 4.35 , S.D.= 0.62)