วิจัยเรื่อง : การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นางปราณปรียา ทรงศรี
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์(Jigsaw) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนห้องที่ 7 โรงเรียนเทศบาล วัดกลาง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที จำนวน 8 สัปดาห์ สอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 16 ชั่วโมงรูปแบบที่ใช้ในการทดลอง คือ One Group Pre-test Post- test Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทดลองครั้งนี้ ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน ใช้เวลาเรียน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน จับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่าสถิติการทดสอบค่าที ( t – test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.88/81.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนได้คะแนนพัฒนา (d) เฉลี่ย 9.30 คิดเป็น ร้อยละ 31.00
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในระดับมาก โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ทุกด้าน เท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.07